ยักษ์ ต้นเชียงแห่งดอนปู่ตา

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ต้นเชียง ต้นผึ้ง ต้นยวนผึ้ง
ดอนปู่ตา บ้านบัว  ต. กุดบาก อ. กุดบาก  จ. สกลนคร
อายุ ไม่ต่ำกว่า 200 ปี
เส้นรอบวง  38.9 เมตร (วัดแนบตามความโค้งของพูพอน)

ดอนปู่ตาคือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านในภาคอีสาน เชื่อกันว่าเป็นที่อยู่ของวิญญาณบรรพบุรุษ ที่แห่งนี้จึงไม่มีการตัดต้นไม้ ทำให้ต้นเชียงต้นนี้ยังคงอยู่ได้ ในอดีตเคยมีคนมาประมูลน้ำผึ้งที่ต้นนี้ในราคา 6,000 บาท  รายได้เข้าส่วนกลางของชุมชน แต่เมื่อพวกเขาเห็นตัวอย่างต้นเชียงอีกต้นที่คนตีผึ้งตอกตะปูเพื่อขึ้นไปเก็บรังผึ้ง จนทำให้เนื้อไม้ผุจากสนิมตะปูและล้มลง ปีต่อไปพวกเขาจึงไม่ยอมให้ต้นเชียงต้นนี้ถูกประมูล  ต้นเชียงนี้จึงกลายเป็นแหล่งขยายพันธุ์ชั้นดีของบรรดาผึ้งหลวง รวมทั้งค้างคาว นก มด แมลง ที่แบ่งกันอยู่เป็นชั้นๆ ราวกับคอนโด

นอกจากนั้น เชียงต้นนี้ยังเป็นสนามเด็กเล่นชั้นยอดของเด็กๆ เวลามีงานบุญ ชาวบ้านจะมาทำพิธีกันที่ดอนปู่ตา ระหว่างนั้น เด็กๆ ก็จะมาวิ่งเล่นที่ต้นนี้ บางครั้งพวกเขาก็ชวนกันจับมือวัดขนาดโอบรอบต้นกันโดยไม่มีใครสั่ง

“ความเชื่อเรื่องผีดอนปู่ตา ถึงเขาว่ามันงมงายก็ตามแต่ แต่ผืนป่ามันยังอยู่ แม่นบ่ …ป่าคือบ้าน ลำธารสายน้ำคือชีวิต มวลมิตรคือพลัง พึ่งตนเองคือความหวัง ธรรมชาติยัง เพื่อชีวิตของทุกคนบนโลกใบนี้ แต่เดี๋ยวนี้นักการเมืองทุกยุคสมัยมีนโยบายอย่างเดียวคือทำลายผืนป่า ทำลายแม่น้ำ ทำลายภูเขา…ถ้าคนบ่มีผืนป่า บ่มีสายน้ำ บ่มีภูเขา บ่มีท้องทะเล เฮาจะไปอาศัยไผ”
— พ่อเล็ก กุดวงค์แก้ว (ปราชญ์ชาวบ้าน) –

เล่าเรื่องโดย เมธิรา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
////////////////////////////////////////////////////////

“ความแล้งปีนี้สาเหตุเกิดจากการขาดความสมดุลย์ทางธรรมชาติ เพราะเฮานั่นแหล่ะทำลาย อย่าโทษผู้นั่นผู้นี่ อย่าโทษไผ ตั้งแต่นโยบายผู้บริหารประเทศให้คนปลูก

ยางพาราภาคเหนือ ภาคอีสาน ปลูกปาล์มอีก ยิ่งทำลายป่ามากขึ้น ความจริงแล้วชาวบ้านเขาก็ดีใจว่า เขาต้องได้เงิน แต่ถ้าถามว่าได้เงินแล้วมันแล้ง ฝนก็ดี น้ำท่วมก็ดี มันผิดปกตินี่ มันก็บ่คุ้มต่อชีวิตเฮา”

ความรู้มากมายนอกห้องเรียน นอกหนังสือ …ในป่า ในเขา ในหนองน้ำ ในเกาะ ในกุโบร์ ครั้งนี้ ต้นเซียง ใน “ดอนปู่ตา” สิ่งที่มีค่า คือการพบผู้รู้ ได้พบปราชญ์ ที่รักธรรมชาติ ที่รักในการทำให้โลกดีขึ้น เมืองไทยดีขึ้น…ขอบคุณการเดินทาง
–บันทึกเรื่องและภาพโดย ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ–

////////////////////////////////////////////////////////
รวบรวมภาพรังผึ้งยักษ์ที่ร่วงหล่นอยู่ยริเวณต้นเชียงยักษ์แห่งนี้ พร้อมผู้คนในชุมชนที่ภูมิใจในมรดกทางธรรมชาติที่อยู่มาก่อนการสร้างบ้านแปงเมือง ก่อนการเกิดสวนอินแปง คนอยู่กับป่าในปัจจุบัน ผู้นำเผ่าหัวเขียวคือพ่อเล็ก กุดวงศ์แก้ว หมู่บ้านบัว อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ขอใช้พื้นที่นี้ขอบคุณยิปซี ทายาทหลานแม่ฑีตา ผ้าย้อมครามสีธรรมชาติ ที่ร่วมอาสาพาทีมงานเดินทางตามหาต้นไม้ตามเส้นทางอีสาน เกิดประสบการณ์และมิตรภาพอันดีงาม
ภาพและแคมเปญโดย อนันตา อินทรอักษร

White Paper สมุดปกขาว เพื่ออากาศสะอาด

TH-CleanAirNetwork-WhPP

นอกจากนี้สถานการณ์ฝุ่นพิษในประเทศไทย ยังเป็นปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ ที่เราทุกคนหายใจในอากาศเดียวกัน แต่ได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน เนื่องจากความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลระดับมลพิษ ทั้งด้วยพื้นที่นั้นไม่มีเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 หรือมีแต่เสียบ่อย ประชาชนจึงต้องใช้ชีวิตอยู่ในอากาศที่เป็นพิษ โดยไม่ได้รับรู้ ไม่ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม หรือถึงแม้จะเข้าถึงข้อมูลและความรู้ แต่ก็พบปัญหาความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันโดยเฉพาะหน้ากาก N-95 และเครื่องฟอกอากาศที่มีราคาสูงมาก เมื่อเทียบกับรายได้และค่าครองชีพของประชาชนทั่วไป และความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท ที่คนในกรุงเทพหรือในเมืองใหญ่ได้รับการเอาใจใส่จากรัฐมากกว่าคนในต่างจังหวัดหรือในอำเภอรอบนอก โดยเฉพาะคนชายขอบของสังคมที่ไม่ได้รับการดูแลหรือตกเป็นจำเลย 
อย่างไรก็ตามด้วยปัญหามลพิษทางอากาศมีความซับซ้อน และมีบริบทเฉพาะของปัญหาทั้งองค์ประกอบของแหล่งกำเนิด คือ การเผาในที่โล่ง รถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การจัดการกับปัญหาจึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางทั้งในแต่ละพื้นที่ ระดับประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อสามารถดำเนินการไปสู่เป้าหมายร่วมที่จะมั่นใจได้ว่าทุกคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม มีอากาศสะอาดไว้หายใจได้อย่างเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวเป้าหมายที่แท้จริงของการยกระดับคุณภาพอากาศจึงไม่ควรหยุดอยู่เพียงแค่การทำ กฎหมายอากาศสำหรับประเทศไทย หรือจัดตั้งสำนักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แต่ควรสานต่อไปยังความร่วมมือระดับภูมิภาคนั้นคือการจัดทำ กฎหมายอากาศสำหรับอาเซียน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และ มาเลเซีย ได้มีกฎหมายอากาศสะอาดของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

สมุดปกขาว เพื่ออากาศสะอาด จัดทำโดยเครือข่ายอากาศสะอาด ประเทศไทย สามารถดาวน์โหลดและเผยแพร่เพื่อประโยชน์สาธารณะ    

How to Run toward Zero Waste

How to Run toward Zero Waste

runtoward0waste_๑๘๐๗๐๘_0001

How to Run toward Zero Waste
การเตรียมตัววิ่งเพื่อบ้านของสัตว์ป่าขยะเป็น 0
จะวิ่งเพื่อสัตว์ป่าทั้งทีอย่าลืมลดขยะกันด้วยนะ

ก่อนไปงานวิ่ง
1.เตรียมแก้วน้ำซิลิโคน (ที่แจก) ช้อน กระเป๋าผ้าไปด้วย
2. เดินทางไปกับเพื่อนหรือรถโดยสารสาธารณะ

ระหว่างวิ่ง
1.นำแก้วซิลิโคนมาใช้รองน้ำดื่ม

หลังวิ่ง
1. ใช้จาน ช้อน ซ้อมอันเดิมเพื่อเติมอาหาร
2. ตักอาหารแค่พอทาน ไม่มากเกินไป
3. แยกขยะตามประเภทต่างๆ

ก่อนกลับบ้าน
1. ช่วยเก็บขยะที่ตกตามพื้นใส่ในถุงคัดแยกขยตามประเภท

รายละเอียดกิจกรรม (คลิก)

TCP Spirit ครั้งที่ 1 : หมอต้นไม้ สวนลุมพินี

 

BIG Trees ร่วมจัดกิจกรรม “TCP Spirit ครั้งที่ 1 : หมอต้นไม้ สวนลุมพินี” เพื่อชวนทุกท่านได้รู้จักคำว่า “หมอต้นไม้ หรือ รุกขกร” มากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้คือกำลังสำคัญในการดูแลรักษาต้นไม้อย่างถูกวิธี และพวกเราจะชวนทุกท่านมาเป็นรุกขกรกับกิจกรรมนี้คะTraining-TreesWorker-134

กิจกรรม ‘หมอต้นไม้’ คือกิจกรรมที่ The Cloud และโครงการ TCP Spirit ซึ่งสนับสนุนโดยกลุ่มธุรกิจ TCP ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อให้คนเมืองได้มีส่วนร่วมในการดูแลต้นไม้ใหญ่ และทำให้ต้นไม้ที่เรามีอยู่เติบโตไปอย่างมีคุณภาพมากขึ้น

TCP Spirit เป็นโครงการอาสาสมัครของกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำของไทยและของโลก อาทิ กระทิงแดง (เรดบูล) เรดดี้ สปอนเซอร์ แมนซั่ม และเพียวริคุ รวมทั้งแบรนด์ขนมขบเคี้ยวซันสแนค โดยโครงการนี้ต่อยอดมาจากจากโครงการ ‘กระทิงแดง สปิริต’ โครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความยั่งยืนผ่านกิจกรรมอาสาสมัครมายาวนาน โดยในปีนี้เป็นปีแรกที่กิจกรรมอาสาสมัครของกลุ่มธุรกิจ TCP จะอยู่ภายใต้ชื่อเรียกใหม่ ‘TCP Spirit’ เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นของทั้งองค์กรในการส่งต่อพลังให้ชุมชนและสังคม โดยชวนคนรุ่นใหม่ออกมามีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนและสังคม

ในปีนี้ TCP Spirit จึงอยากชวนคนเมืองรุ่นใหม่มาเรียนรู้วิธีการดูแลต้นไม้ใหญ่ร่วมกันผ่านกิจกรรม ‘หมอต้นไม้’ เปิดโอกาสให้ทุกคนที่อยากมีส่วนร่วมกับการดูแลต้นไม้ในเมือง แม้ไม่มีความรู้มาก่อนก็เข้าร่วมได้ ขอแค่มีใจอยากเรียนรู้ไปด้วยกันก็พอแล้ว

วันเวลาที่จัดกิจกรรม

วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น.

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

130 คน

ค่าใช้จ่าย

กิจกรรมนี้ลงทะเบียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

สถานที่

เกาะลอย สวนลุมพินี

วิธีการรับสมัคร

  1. กรอกใบสมัครที่นี่
  2. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมทางเพจ The Cloud และ TCP Group ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 โดยคัดเลือกจากข้อมูลที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งมา และการคัดเลือกจะเป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดและทีมงาน ทีมงานจะติดต่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกหลังจากที่ได้ประกาศผลแล้วเพื่อแจ้งรายละเอียดกิจกรรม ถ้ามีผู้สละสิทธิ์ ทางคณะผู้จัดกิจกรรมจะติดต่อรายชื่อสำรองลำดับถัดไป

Training-TreesWorker-155

 

รักษ์ ปลูก สาน ปี2 ตอน ปลูก ต่อ เติม สวนป่าคุ้งบางกะเจ้า

งานรักษ์ ปลูก สาน ปี2  ตอน ปลูกต่อเติม สวนป่าคุ้งบางกะเจ้า

ด้วยคุ้งบางกะเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชดำริ คลองลัดโพธิ์ ที่มีวิถีชีวิตทางสังคมอยู่อย่างวิถีธรรมชาติ การทำเกษตรกรรม สวนผลไม้ และการเกษตรอื่นๆ ประกอบกับมีพระราชดำริ ของในหลวง ร.9 ได้ทรงให้ช่วยกันเก็บรักษาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าแห่งนี้ ให้เป็นพื้นที่สีเขียวชุ่มน้ำ เพื่อเป็นพื้นที่ฟอกอากาศ (Buffer Zone) ให้กับคนคุ้งบางกะเจ้า และคนกรุงเทพมหานคร อีกทางหนึ่ง อีกทั้งพื้นที่แห่งนี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็น ปอดแห่งเอเชีย จากนิตยสาร ไทม์ ในปี 2548 อีกด้วย จึงทำให้ได้รับการคุ้มครองให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้วยความสมบูรณ์และความสวยงามตามธรรมชาติดั้งเดิมที่ยังคงอยู่ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ของพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ 3 น้ำ คือ น้ำกร่อย น้ำจืด และน้ำเค็ม ใกล้กรุงเทพมหานคร

กลุ่มรักษ์คุ้งบางกะเจ้าและกลุ่มบิ๊กทรี จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจร่วมปั่นจักรยาน อาบป่า พร้อมทั้งร่วมดูแลรักษาป่าในเมืองคุ้งบางกะเจ้า ในวาระวันปลูกต้นไม้แห่งชาติ กับงาน รักษ์ ปลูก สาน ปี2  ตอน ปลูก ต่อ เติม สวนป่าคุ้งบางกะเจ้า ณ ริมคลองแพ ต.บางกอบัว อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 07.00 – 14.00 น.

กำหนดการ

โครงการ “ศูนย์การเรียนรู้ ป่าชุ่มน้ำ ป่าชายเลน คุ้งบางกะเจ้า”
วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
07.00 – 08.00 น.ลงทะเบียน รับเอกสาร [แผนที่เส้นทางปั่นจักรยานใหม่ / กำหนดการปั่น.ปลูก.จาก ปีที่ 2]
• ท่าเรือวัดบางน้ำผึ้งนอก ( อาบป่าเรียนรู้ดูรากบางกะเจ้า)
08.00 – 08.30 น.ชี้แจงกิจกรรมและสัญญาณมือในการขี่จักรยาน
08.30 – 09.15 น.ร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานศึกษาเส้นทางธรรมชาติสู่วิถีสวนเกษตรชุมชนตามเส้นทางที่กำหนด
•ท่าวัดบางน้ำผึ้งนอก – สวนป่า บางน้ำผึ้ง(นิทรรศการริมทาง) – คลองแพ (บ้านโกหม่อง เซียนคุ้ง)
09.15 – 09.30 น.รับประทานอาหารว่าง
09.30 – 10.00 น.พิธีเปิดงาน “รักษ์ ปลูก สาน” คุ้งบางกะเจ้ายั่งยืน ถวายเป็นพระราชกุศล ร.9 ปีที่ 2
– ถ่ายรูปร่วมกัน
10.00 – 10.30 น.ชมนิทรรศการ “รักษ์ ปลูก สาน” คุ้งบางกะเจ้ายั่งยืน ถวายเป็นพระราชกุศล ร.9 ปีที่ 2
10.30 – 11.30 น.กิจกรรม “ปลูก ต่อ เติม” ริมคลองแพ (บ้านโกหม่อง เซียนคุ้ง)
กิจกรรม เพาะกล้าลูกจาก (สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ขวบ)
11.30 – 12.00 น.เก็บอุปกรณ์และทำความสะอาดร่างกาย
12.00 – 13.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน (อาหารท้องถิ่น)
13.00 – 13.30 น.เดินชมนิทรรศการ “รักษ์ ปลูก สาน” คุ้งบางกะเจ้ายั่งยืน ถวายเป็นพระราชกุศล ร.9 ปีที่ 2 (ต่อ)
13.30 – 14.00 น.ถ่ายภาพร่วมกันและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
*ค่าใช้จ่ายตลอดทริปเพียงท่านละ 300 บาท (เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
ราคานี้ไม่รวมค่าเช่าจักรยาน ผู้ร่วมกิจกรรมต้องเช่าจักรยานจากท่าเรือหรือนำจักรยานมาเอง

วิธีการสมัคร

1. ลงทะเบียนร่วมงานโดยสแกน QR Code (ในโปสเตอร์) หรือคลิกลิงค์ ลงทะเบียนร่วมงาน
2. โอนเงินมาที่ บจก. รักษ์ไม้ใหญ่ วิสาหกิจเพื่อสังคมจำกัด
ธนาคารกสิกรไทย เลขที่บัญชี 006-3-25976-4
3. ส่งหลักฐานการโอนเงินมาทาง inbox Page BIG Trees
หรือติดต่อมาที่ นายสุนทร การินทร์ 099-907-7164
Line ID: chokechonetu
และขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานเพื่อส่งต่อพลังการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อม ติดต่อมาที่ Page BIG Trees
หรือติดต่อมาที่ นายสุนทร การินทร์ 099-907-7164
//////////////////////////////////////////////////////////////////

**การเดินทางมาคุ้งบางกะเจ้า**

1. การเดินทางโดยรถส่วนตัว
สามารถใช้เส้นทางถนนเข้าสู่คุ้งบางกะเจ้าได้ 3 เส้นทาง
1.1 มาทางถนนพระราม 3 มุ่งหน้ามาทางสะพานภูมิพล 1 และภูมิพล 2เมื่อขึ้นสะพานแล้วให้ขับตามป้าย สุขสวัสดิ์เพื่อมายัง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนนครเขื่อนขันธ์ ตามด้วยถนนเพชรหึงษ์ เข้าสู่พื้นที่บางกะเจ้า แล้วมุ่งตรงเข้าสู่ ถนนเพชรหึงษ์ 26 เพื่อไปยัง วัดบางน้ำผึ้งนอก
1.2 มาทางทางด่วนเฉลิมมหานครข้ามสะพานพระราม 9 มาลงทางออกสุขสวัสดิ์ จากนั้นเลี้ยวเข้าสู่ถนนนครเขื่อนขันธ์ ตามด้วยถนนเพชรหึงษ์ เข้าสู่พื้นที่บางกะเจ้า แล้วมุ่งตรงเข้าสู่ ถนนเพชรหึงษ์ 26 เพื่อไปยัง วัดบางน้ำผึ้งนอก
1.3 มาถนนราษฎร์บูรณะ จากนั้นเลี้ยวซ้ายมาทางซอยทรงธรรม มาตามเส้นทางเข้าสู่ถนนเพชรหึงษ์เพื่อไปยังพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า แล้วมุ่งตรงเข้าสู่ ถนนเพชรหึงษ์ 26 เพื่อไปยัง วัดบางน้ำผึ้งนอก
2. การเดินทางโดยรถประจำทาง
2.1 สามารถโดยสารรถประจำทางที่วิ่งมายังพระประแดงแล้วต่อรถสาย พระประแดง-บางกอบัวเพื่อเข้าสู่พื้นที่บางกะเจ้า จากสาย ปอ. 138 วิ่งจากจตุจักรขึ้นทางด่วนมาลงตลาดพระประแดง หรือสาย 82 วิ่งจากสนามหลวงมาถึง พระประแดง แล้วมุ่งตรงเข้าสู่บางกะเจ้า โดยรถประจำทางบางกอบัว และนั่งรถมอเตอร์ไซด์เข้าไปถนนเพชรหึงษ์ 26 เพื่อไปยัง วัดบางน้ำผึ้งนอก
2.2 ถ้าโดยสาร รถ ปอ.140 จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเมื่อรถลงจากทางด่วนสุขสวัสดิ์ให้ลงป้ายแรก แล้วต่อรถสาย 82 เข้าตลาดพระประแดง แล้วมุ่งตรงเข้าสู่บางกะเจ้า โดยรถประจำทางบางกอบัว และนั่งรถมอเตอร์ไซด์เข้าไปถนนเพชรหึงษ์ 26 เพื่อไปยัง วัดบางน้ำผึ้งนอก
2.3 จากปากเกร็ดมีรถสาย 506 ไปยังตลาดพระประแดงได้เช่นกัน แล้วมุ่งตรงเข้าสู่บางกะเจ้า โดยรถประจำทางบางกอบัว และนั่งรถมอเตอร์ไซด์เข้าไปถนนเพชรหึงษ์ 26 เพื่อไปยัง วัดบางน้ำผึ้งนอก
3. ท่าเรือโดยสาร มีอยู่ 5 ท่าหลักๆ
3.1 ท่าเรือบางนานอก-ท่าเรือวัดบางน้ำผึ้งนอก
3.2 ท่าเรือคลองเตย-ท่าเรือบางกะเจ้า,ท่าเรือเพชรหึงษ์
3.3 ท่าเรือช่องนนทรี-ท่าเรือวัดบางกะเจ้านอก
3.4 ท่าเรือข้ามฟากปู่เจ้าสมิงพราย-พระประแดง
3.5 ท่าเรือข้ามฝากฝั่งพระราม3-คลองลัดโพธิ์
4. การเดินทางโดยรถไฟฟ้า
4.1 ขึ้น BTS มาลงที่สถานี บางนา แล้วนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้าง ตรงมาทางสี่แยกบางนาแล้วเลี้ยวซ้ายมาทาง ถ.สรรพวุธ จากนั้นตรงเข้ามาจนสุดทาง ก็จะพบท่าเรือวัดบางนานอก แล้วให้โดยสารเรือข้ามฝากมายังคุ้งบางกะเจ้าเพื่อมายังท่าเรือวัดบางน้ำผึ้งนอก
4.2 ขึ้น MRT มาลงที่ สถานี ศูนย์สิริกิตติ์ฯ แล้วนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้าง ตรงมาทางถนนพระราม 4 จากนั้นวิ่งเข้ามาถนนเกษมราษฎร์ มาที่ท่าเรือคลองเตย จากนั้นให้โดยสารเรือข้ามฝากมายังคุ้งบางกะเจ้าเพื่อมายังท่าเรือกำนันขาว จากนั้นให้นั่งรอมอเตอร์ไซด์มายังวัดบางน้ำผึ้งนอก

รักษ์ ปลูก สาน_Poster_A3_Final

สอบถามเพิ่มเติมโทร 099-907-7364 (คุณสุนทร การินทร์)

หรือ inbox มาที่ : BIG Trees

31166902_10211638076527840_8583395319608246272_n31081494_10211637468712645_4919634615204839424_o

ถ่ายภาพโดย อ.สมชาย ดิษฐศร

จากใจพนักงานตัดแต่งต้นไม้ กทม.

30224014_2052365618137159_346840708_oเมื่อก่อนตัดแต่งต้นไม้อย่างไร?

พี่พัชรีบอกว่า เมื่อก่อนตัดต้นไม้ตามความรู้สึก คิดว่ากิ่งไหนน่าจะเอาออกก็ตัด และคิดว่าต้นไม้จะแตกกิ่งใหม่ออกมาได้ ตัดโดยที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเลย

หลังจากฝึกอบรมรุกขกรรมขั้นต้นแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หลังจากฝึกอบรมฯ ทำให้เข้าใจหลักการตัดแต่งต้นไม้อย่างถูกวิธี ซึ่งไม่ตรงกับที่เข้าใจมาตั้งแต่แรกเลย ซึ่งที่ผ่านมาตัดผิดวิธีมาโดยตลอด นอกจากจะเปลี่ยนแปลงวิธีการตัดแต่งต้นไม้ใหม่แล้ว พี่พัชรียังได้นำหลักการพื้นฐานสำคัญๆ ไปสอนลูกน้องในทีมให้เข้าใจอีกด้วย โดยการอธิบายและลงมือปฏิบัติจริงให้ลูกน้องเห็น เช่น การดูทรงพุ่มต้นไม้ว่าควรมีลักษณะอย่างไร กิ่งไหนสามารถตัดออกได้ กิ่งไหนควรเก็บไว้เพื่อรักษารูปทรงต้นไม้ เป็นต้น จนมีการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไประหว่างหัวหน้าและลูกน้อง พี่พัชรียังบอกอีกว่าความรู้ที่ได้รับนอกจากจะช่วยให้ต้นไม้สวยงาม แข็งแรงแล้วยังช่วยประหยัดแรงได้ เพราะการตัดแต่งที่คอกิ่งอย่างถูกวิธีช่วยให้กิ่งกระโดงไม่ออกใหม่ จึงช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้เยอะมาก

บทสัมภาษณ์คุณพัชรี วีระมิด เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน กทม. เขตบางรัก

ถ่ายภาพโดย ขนิษฐา ลาสุด

น้ำมาจากไหน?

DSC06698

เทศกาลสงกรานต์ เชื่อว่าทุกคนคงอยากออกไปเล่นสาดน้ำกันแล้ว แต่ก่อนจะเล่นน้ำแอดมมินอยากให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับน้ำและป่ากันก่อนสักนิด เพื่อให้ตะหนักถึงปัญหาที่เกิดในบ้านเรา โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้งที่ต้องช่วยกันประหยัดทรัพยากรอันมีค่านี้ไว้

น้ำมาจากไหน? แล้วป่าต้นน้ำสำคัญอย่างไร?

น้ำเกิดจากวัฎจักรน้ำและธาตุต่างๆหมุนเวียนกันเกิดเป็นฝนและตกสู่พื้นดิน โดยมีป่าหรือที่เรียกว่า “ป่าต้นน้ำ” ที่มีใบไม้ทับทมหลายร้อยปี มีเรือนยอดไล่ระดับน้ำค่อยๆไหลจากฟ้าสู่เรือนยอดไม้ ตกสู่ใบไม้แต่ละชั้นแล้วค่อยๆซึมลงผิวที่ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำขนาดยักษ์เก็บกักน้ำไว้และค่อยๆ ปล่อยลงสู่ลำธาร

ดราม่าป่าไม้ลด น้ำหดหาย

จากข้อมูลของ กรมป่าไม้ ปี 2556–2557 ระบุว่า ประเทศไทยเหลือป่าไม้เพียง 102.285 ล้านไร่ คิดเป็น ร้อยละ 31.62 ของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด ที่มีอยู่ 323.518 ล้านไร่ หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว พ.ศ. 2516 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์กว่า 140 ล้านไร่ ผ่านไปแค่ครึ่งอายุคน ป่าไม้ถูกคนไทยขายชาติทำลายไปแล้วถึง 38 ล้านไร่ ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการบุกรุกป่ายิ่งรุนแรง โดยเฉพาะ เชียงใหม่ ป่าไม้หายไปกว่า 800,000 ไร่ โดยเฉพาะที่ อ.อมก๋อย หายไปกว่า 300,000 ไร่ รองมาคือ น่าน ลำปาง หายไปจังหวัดละกว่า 400,000 ไร่

ป่าเมืองน่านสำคัญยังไง

น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 40% มาจากป่าต้นน้ำในจังหวัดน่าน และเปรียบดังเส้นเลือดใหญ่ของประเทศที่ถูกทำลายไปปีละกว่า 150,000 ไร่ ถูกเปลี่ยนไปเป็นไร่พืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะ “ไร่ข้าวโพด”

ประชาชนจะดูแลป่าต้นน้ำได้อย่างไร?

ง่ายๆ แค่ มี 8 วิธีดูแลป่าแบบคนเมือง
1. เป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
2. สนับสนุนชุมชนที่ดูแลป่าแทนคนเมือง เพราะชุมชนนี้แหละคนสำคัญที่จะช่วยรักษาทรัพยากรให้พวกเรา
3. เลือกซื้อสินค้าที่คืนกำไรให้ชุมชน
4. ใช้สังคมโซเซียวให้เป็นประโยชน์ โดยการแชร์ ข้อมูลต่างๆแก่เพื่อนๆ
5. ลด ละ เลิก กิจกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
6. ใช้ทรัพยากรแต่พอดี ประหยัดน้ำ ไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง
7. เที่ยวที่ไหนอย่าลืมเก็บขยะกลับมาทิ้งให้ถูกที่
8. งดซื้อสินค้าต้องห้ามที่ผิดกฏหมาย

DSC06664

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ ที่รับสั่งถึงป่ากับน้ำ “…พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า…”

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ พระพุทธเจ้าข้า ลมจากป่า

เล่าเรื่องและถ่ายภาพโดย ลมจากป่า

ลุงไพร ฮีโร่ชุดเขียว

Training for BMA Staff Season 1-299

แอดมินมีโอกาสได้เจอลุงไพรเพียง 2 ครั้ง ในตอนไปถ่ายรูปงานฝึกอบรมรุกขกรรม สำหรับพนักงานดูแลต้นไม้กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลางเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เห็นครูฝึกหนุ่มหลายคนชื่นชมลุง และล่าสุดได้อ่านเรื่องราวที่น้องในทีมจัดฝึกอบรมของบิ๊กทรี ชื่อน้องมด กล่าวถึงความประทับใจต่อลุง จึงอดไม่ได้ที่จะนำมาบอกต่อ เนื้อความดังนี้

เรื่องเล่า พี่ไพรผู้ปฏิบัติ ep.เดียวจบ

ขออนุญาตเขียนถึงและใช้ภาพพี่ไพร ด้วยความเคารพ

พี่ไพร เป็นผู้ปฏิบัติงานชุดเขียว อายุพอจะเรียก คุณลุง หรือ คุณตาได้ แต่ขอเรียก พี่ไพร เพื่อให้เกียรติความเก๋าของแก

พี่ไพร มีคำสั่งให้มาเรียนรู้เกี่ยวกับการตัดแต่งต้นไม้อย่างถูกวิธี การทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัยโดยใช้เชือกและพื้นฐานการทำงานแบบดั้งเดิม นึกภาพง่ายๆคือ เชือก และเงื่อนเชือก ในการปีนต้นไม้และทำงานบนที่สูง

ตอนเเรกไม่ได้คาดหวังว่าพี่ไพรจะต้องทำได้ทุกอย่าง ต้องเก่งเท่ากับพวกหนุ่มๆรุ่นคราวลูก แต่เมื่อปฏิบัติจริง ไม่อยากจะเชื่อเลยว่า คนอายุขนาดนี้ จะถือกระดาษ ปากกา จดมันทุกสิ่งที่วิทยากรสอนไป คำภาษาอื่นแกก็จดเป็นภาษาไทย กระดาษแผ่นเดียวยับๆ พังๆ จดจนวันสุดท้ายของการเรียน
สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับแกในตอนนั้น อาจจะเป็น คำภาษาอื่นที่ไม่มีแปลเป็นไทย

เราเข้าใจว่า เรื่องขั้นตอนอะไรใหม่ๆ ที่ต้องใช้ความเข้าใจ คนอายุขนาดนี้คงจะดัดยากไป แต่ไม่เลย วันที่ทำให้เราเปลี่ยนความคิดไปทั้งหมด ที่เราคิดแทนแก คือวันที่แกเรียนเงื่อนเชือก เรียนในสิ่งที่ต้องเข้าใจมากขึ้น ทุกคนเรียน แกก็เรียน แกยิ้มและใส่ใจในทุกรายละเอียดของขั้นตอนการทำ พอแกทำเงื่อนที่หนุ่มๆยังไม่เข้าใจ แกก็เดินไปหาหัวหน้าที่มากับแก
เดินถือเชือกไป เดินไปบอกว่า “หัวหน้า ทำเงื่อนนี้ได้รึยัง” ….หัวหน้าส่ายหัว “นี่ไง ดูผมนะ “ ….แล้วก็อธิบายเป็นขั้นตอนที่แกเข้าใจให้หัวหน้าฟัง แล้วทั้งสองก็ยิ้มและหัวเราะไปด้วยกัน สายตาของแกดีใจมากที่ทำได้ โลกตรงนั้นทำให้สายตาที่มองอยู่ น้ำตาคลอ เผลอยิ้ม และดีใจไปกับแก คิดย้อนรู้สึกที่ตัวเองคิดว่าแกคงทำไม่ได้ คิดผิดไปซะแล้ว และในส่วนของการปฏิบัติงานบนที่สูง (มีความปลอดภัยและมีวิทยากรดูแล) พี่แกก็ไม่เคยเกี่ยง เป็นคนแรกๆที่ทำ และหมั่นฝึกอยู่บ่อยๆ พี่ไพรเป็นคนที่ทำให้เรา หันมาสร้างแรงบันดาลใจจากตัวเอง รักในความสามารถของตัวเอง รักในสิ่งที่มีอยู่ รักในสิ่งที่ทำ พี่แกเป็นแรงบันดาลใจที่ดีมากๆ

เมื่อวานพี่ไพรเป็นตัวแทนผู้ปฏิบัติในรุ่น เข้าฝึกในขั้นที่ยากขึ้นพร้อมกับตัวแทนคนอื่นๆ ความดีใจ ภูมิใจ ที่แสดงออกมาทางสายตาของแก ทำให้เราอดดีใจ และภูมิใจในตัวแกไปด้วยไม่ได้เลย ไม่มีอะไรยากไปสำหรับความตั้งใจและใส่ใจจริงๆ

ดีใจกับพี่ไพรและคนอื่นๆด้วยนะคะ
แล้วพบกันในการฝึกครั้งต่อไป 🙂

 

 


เล่าเรื่องโดย ศศิมา ดีสร้อย

บันทึกภาพโดย ขนิษฐา ลาสุด

ป่าในเมือง

ป่าในเมือง

วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ อยากพักผ่อนให้สบายๆ ขับรถออกไปข้างนอกหวังจะหาที่พักผ่อนใกล้บ้าน คิดไปคิดมาแวะเดินเล่นที่สวนสาธารณะใกล้บ้านสักแห่ง เดินดูรอบๆ สวนเห็นต้นปาล์ม และต้นอะไรอยู่ไม่เกิน 10 ชนิด ปลูกซ้ำไปมา เรียงเป็นแถวสลับกัน บ่อน้ำกับเรือเป็ด ผู้คนนับสิบ นับร้อยวิ่งสวนกันไปมา มองดูผิวเผินรู้สึกร่มบ้าง แดดบ้างในบางจังหวะ รู้สึกถึงความแปลกที่เคยสัมผัสกับตอนไปเที่ยวต่างจังหวัด นั่นคือ อากาศ ความรู้สึกสดชื่น ชนิดพรรณไม้ ชนิดสัตว์ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ ป่าที่มีความแตกต่างกัน ป่า (สวนสาธารณะ) ของคนเมืองที่มีบริเวณแคบๆ ปลูกต้นไม้ไม่กี่ชนิด สัตว์ที่มีให้เห็น เช่น ตัวเงินตัวทอง นก กา ปลา เป็นต้น

           นั่งลงบริเวณสนามหญ้าใต้ต้นปาล์มหางจิ้งจอกต้นหนึ่ง สังเกตว่าที่แท้เพราะป่าในเมืองมีต้นไม้ที่ไม่ใหญ่มาก ส่วนใหญ่เป็นไม้ต่างประเทศที่เห็นทั่วไป ตามเขตเมือง มองดูแล้วนึกถึงต่างประเทศ แต่ถ้ามีต้นไม้พื้นถิ่นของไทยหรือต้นไม้ใหญ่ๆ คงเป็นร่มเงาให้คนเมือง รวมทั้งเป็นแหล่งดึงดูดคนและสัตว์เข้ามาไม่มากก็น้อยแน่นอน

มองดูในน้ำเห็นเจ้าตัวเงินตัวทองกำลังเดินต้วมเตี๋ยมหาอาหารนับสิบตัว เคยอ่านเจอในหนังสือเรื่องห่วงโซ่อาหารกับระบบนิเวศที่เกื้อกูลกัน จึงรู้ว่าการที่เจ้าตัวเงินตัวทองเพิ่มจำนวนมากๆ เป็นเพราะมันไม่มีผู้ล่าในการจำกัดจำนวนประชากรนี่เอง แต่ยังไงการมีป่าและพื้นที่สวนสาธารณะที่ขนาดใหญ่ยาวต่อกันกลางเมืองคงดีไม่น้อย

 

เล่าเรื่องโดย: ลมจากป่า

ภาพประกอบโดย: สิริลักษณ์ ตะเภาหิรัญ

ขอบคุณนิตยสารบ้านและสวนสำหรับพื้นที่บทความธรรมชาติ

รวมพลคนหัวใจสีเขียวในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ รุ่น 3

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ (งานรุกขกรรมขั้นต้น) รุ่นที่ 3  

กับการรวมพลกลุ่มคนหัวใจสีเขียวซึ่งตั้งใจอยากเรียนรู้ถึงวิธีการดูแลต้นไม้ใหญ่ในเมืองอย่างถูกวิธี ตั้งแต่การสังเกตอาการป่วยของต้นไม้ กิ่งก้านที่ต้องตัดออก เพื่อให้รูปทรงสวยงาม และเหมาะสมตามธรรมชาติ โดย ศ.กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ มาร่วมถ่ายทอดความรู้ในการดูแลต้นไม้ใหญ่

และความรู้พื้นฐานในงานรุกขกรรมในภาคทฤษฎี โดยทีมวิทยากรซึ่งเป็นรุกขกรมืออาชีพมาร่วมสอนตั้งแต่การผูกเงื่อน การอุปกรณ์ต่างๆและวิธีการใช้ เครื่องไม้เครื่องมือของมีคมซึ่งต้องใช้อย่างถูกวิธี และปลอดภัย รวมไปถึงการปปีน และเทคนิกต่างๆในภาคปฏิบัติ เพื่อต้อนรับรุกขกรหน้าใหม่ และส่งกระจายกำลังพลพรรคหัวใจสีเขียวไปช่วยกันดูแลต้นไม้ใหญ่ที่ป่วยให้กลับมาแข็งแรง และมีสุขภาพดีขึ้นอีกครั้ง

ตัวแทนผู้เข้าอบรมโครงการอบรมพนักงานรุกขกรรมขั้นต้น รุ่น 3 จะมาบอกเล่าประสบการณ์ และความทรงจำประทับใจตลอดการอบรมในครั้งนี้

คุณวิภานนท์ แซ่สิม นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม

วิภานนท์

BIGTREE: งานที่รับผิดชอบดูแลในปัจจุบัน

วิภานนท์: หญิงทำงานในส่วนของสวนสาธารณะ ดูแลรับผิดชอบงานในสวนลุมพินี ก่อนหน้านี้ทาง กทม. ได้มีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่เรื่องการตัดแต่งต้นไม้ และการดูแลต้นไม้ แต่จะเน้นการเรียนรู้เรื่องทฤษฎีมากกว่า ตอนนั้นเราเรียกคนดูแลต้นไม้ว่า “Tree worker”จนกระทั้งมาได้ยินคำว่า “รุกขกร” จากทางเครือข่ายต้นไม้ในเมือง และกลุ่มบิ๊กทรีส์ (BIGTrees Project) ตอนแรกก็ยังสับสนว่าสองคำนี้ต่างกันยังไง เพราะเราเองก็มีหน่วยงานตัดแต่งต้นไม้ และศัลยกรรมต้นไม้โดยเฉพาะ พอได้มาอบรมจึงมีความเข้าใจมากขึ้น และคิดว่าตรงนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่หน่วยงานหลายภาคส่วนจะก้าวไปด้วยกัน พัฒนาไปด้วยกันในเรื่องการดูแลต้นไม้ใหญ่อย่างถูกวิธี

BIGTREE: ความรู้ที่ได้จะส่งต่อให้คนรอบข้าง

วิภานนท์: ตอนนี้ทาง กทม. เครือข่ายต้นไม้ในเมือง และกลุ่มบิ๊กทรีส์ (BIGTrees Project) กำลังหารือและร่วมมือกันพัฒนาเจ้าหน้าที่ของ กทม. รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลต้นไม้ใหญ่ โดยจะได้การอบรมกับวิทยากรผู้เป็นรุกขกรมือาชีพโดยตรง หลังจากอบรมแล้ว หากได้รับการฝึกฝนมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงานก็จะมีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ รวมถึงทักษะในการปีน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย นอกจากผู้ปฏิบัติงานแล้ว เจ้าหน้าที่ระดับก็จำเป็นต้องมีความรู้ และมีความเข้าใจในเรื่องการตัดต้นไม้อย่างถูกวิธีด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้สามารถสั่งการ และตรวจทานความถูกต้องได้ ในส่วนของตัวหญิงเองก็จะคอยสนับสนุนในส่วนที่เรารับผิดชอบอย่างเต็มที่ และก็จะนำความรู้ที่ได้อบรมมาส่งต่อให้กับทีมงาน และคนรอบข้างด้วย

BIGTREE: ประสบการณ์และความประทับใจในช่วงเวลาที่ได้เข้าอบรม

วิภานนท์: การมาอบรมในครั้งนี้ หญิงคิดว่าได้ประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะเรื่องเงื่อน แม้จะเคยเรียนมาบ้างเมื่อยังเด็ก แต่ก็ลืมไปหมดแล้วจริงๆ พอได้กลับมาเรียนอีกครั้งก็ทำให้รู้ว่า เงื่อนแต่ละชนิดมันมีประโยชน์ต่างกันยังไง และมันสำคัญมากกับการใช้ในงานการปีนต้นไม้ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆด้วย จริงๆแล้วก่อนหน้านี้หญิงปีนต้นไม้ไม่ได้เลย และไม่คิดว่าจะปีนได้ แต่พอได้มาอบรม และมีการปฏิบัติจริง ตอนแรกก็คิดลังเลว่า เราจะปีนได้จริงๆเหรอ ปรากฏว่าเราก็ทำได้ เป็นการอบรมที่ได้ลงมือทุกขั้นตอน ได้รู้เทคนิกต่างๆ เลยยิ่งรู้สึกมั่นใจ และเข้าใจมากขึ้น

คุณเอกวัตร อกรณีย์ นักศึกษา

ตู้

BIGTREE: ทำความรู้จักกับอาชีพ รุกขกร

เอกวัตร: ก่อนหน้านี้ผมทำงานอีเว้นท์ วันหนึ่งรุ่นพี่ให้ผมมาช่วยจัดอาหารในงานอบรมรุกขกรตามมาตราฐานสากลที่สวนลุมพินี เป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสเห็นวิธีการปีนขึ้นตัดต้นไม้อย่างถูกวิธี เพราะมีการใช้อุปกรณ์ในการปีน มีเครื่องมือในการตัด มีการผูกเงื่อน และมีเทคนิกต่างๆ ตอนนั้นผมยังไม่รู้จักอาชีพรุกขกรเลย พอได้เข้าไปดู และสอบถามพี่ๆทีมงานก็ทำให้รู้ว่า การทำงานของรุกขกรนั้นเป็นงานตัดแต่งต้นไม้ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัย จึงต้องมีทั้งอุปกรณ์ช่วยปีน และมีการทำงานเป็นทีมด้วย

BIGTREE: หลังจากรู้จัก จึงเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้มากขึ้น

เอกวัตร: ผมสนใจเรื่องการปีนมาก และส่วนตัวเป็นคนชอบเรื่องต้นไม้อยู่แล้ว จึงสมัครเข้ามาอบรมกับพี่ๆ พอได้มาฟังอาจารย์เดชา บุญค้ำมาบรรยายให้ความรู้ด้วย ก็ยิ่งเข้าใจว่า การตัด

ต้นไม้แบบผิดวิธี จะทำให้ต้นไม้ยิ่งป่วย ต่อไปก็จะดูแลยากขึ้น เพราะเราตัดผิดวิธีไปแล้ว ก็เลยมาคิดว่า ถ้าเรารู้วิธี เข้าใจการตัดต้นไม้อย่างถูกต้อง การดูแลต้นไม้ก็จะง่ายขึ้นไปด้วย

BIGTREE: จุดเปลี่ยนจากงานอีเว้นท์ สู่การเป็นรุกขกร

เอกวัตร: ผมเปิดใจเลยครับ เพราะชอบ และสนใจเรื่องการปีน และเรื่องต้นไม้อยู่แล้ว ถ้าผมสนุกกับงาน ผมจะทำงานได้เต็มที่ และมีความสุข เพราะผมพร้อมที่จะเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง แม้ว่าค่าตอบแทนของงานอีเว้นท์จะสูงกว่า แต่ผมรู้สึกชอบงานนี้จริงๆ ใจมันมาแล้วครับ ที่เหลือก็คือ เรียนรู้ให้เต็มที่ ตั้งใจให้เต็มที่

BIGTREE: ประสบการณ์และความประทับใจในช่วงเวลาที่ได้เข้าอบรมฯ

เอกวัตร: ผมประทับใจมากครับ เป็นการอบรมที่ได้ปฏิบัติจริง ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะได้ลงมือด้วยตัวเองทุกขั้นตอน และได้เรียนรู้เทคนิกต่างๆ สิ่งที่พี่ๆวิทยากรเน้นย้ำคือ ความปลอดภัย

ในการทำงานบนที่สูง อุปกรณ์จึงมีส่วนช่วยในเรื่องความปลอดภัย และการทำงานบนต้นไม้ให้สะดวกมากขึ้น ส่วนเรื่องอื่นๆคงต้องอาศัยประสบการณ์ด้วยครับ ทั้งทรงต้นไม้ สถานที่ในการทำงานซึ่งอาจมีข้อจำกัดต่างกันออกไป ผมคงต้องใช้เวลาฝึกฝนให้มากขึ้นครับ

BIGTREE: คำแนะนำสำหรับผู้สนใจอยากเข้ามาอบรมในรุ่นต่อไป

เอกวัตร: ถ้าเป็นไปได้ ผมแนะนำว่าควรมีความรู้พื้นฐานเรืองต้นไม้ใหญ่ เช่น ประเภทต้นไม้ ลักษณะรูปทรงต้นไม้ ลองหาข้อมูลมาอ่านเตรียมความพร้อมไว้ก่อนเลย ส่วนภาคปฏิบัติควรเตรียมความพร้อมเรื่องร่างกายให้แข็งแรง พร้อมกับการปีนต้นไม้ครับ จริงๆแล้วผมว่าการอบรมนี้ ทุกคนที่สนใจสามารถสมัครเข้ามาเรียนรู้ได้ครับ ผู้หญิงก็สามารถเรียนได้ พอเรารู้เรื่องทฤษฎีแล้ว เราไม่จำเป็นต้องปีนก็ได้ แต่เราสามารถช่วยดูเรื่องตำแหน่งการตัดแต่งต้นไม้ที่ถูกวิธีได้ครับ

คุณจักรชัย กุลวงษ์ คนสวน โรงเรียนรุ่งอรุณ

คุณจักรชัย กุลวงษ์

BIGTREE: งานที่รับผิดชอบดูแลในปัจจุบัน

จักรชัย: ผมเป็นคนสวนดูแลต้นไม้ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งมีพื้นที่ราว 50 ไร่ มีต้นไม้ใหญ่อยู่เยอะมาก เช่น นนทรี ประดู่ จามจุรี แคนา ฯลฯ งานที่ผมรับผิดชอบจึงเป็นการดูแลตัดแต่งต้นไม้ทั้งหมดในโรงเรียน

BIGTREE: ทำความรู้จักกับอาชีพรุกขกร

จักรชัย: เมื่อก่อนผมไม่รู้เลยว่า รุกขกรคืออะไร ตอนนั้นผมก็แปลตามความเข้าใจของตัวเองว่า รุกข แปลว่า เทวดา รุกขกร ก็คือ เทวดาประจำต้นไม้ ผมก็เข้าใจประมาณนี้ ก็มารู้ตอนหลังว่าเราเข้าใจผิดเพี้ยนไปเลย รุกขกร ก็คือคนที่ดูแลตัดแต่งต้นไม้ แต่เขาทำงานด้วยความปลอดภัย และมีอุปกรณ์ และเทคนิกต่างๆเยอะมาก

BIGTREE: ถ้าไม่ได้มาอบรม ก็คงไม่รู้ว่าตัดแต่งต้นไม้ผิดวิธีมาตลอด

จักรชัย: การทำงานตัดแต่งต้นไม้ของผมเมื่อก่อน ยอมรับว่า วิธีการตัดมันผิดไปหมด เริ่มตั้งแต่การปีนเลย เป็นการปีนตัวเปล่าที่ใช้ความสามารถล้วนๆ ไม่มีอุปกรณ์ หรือตัวช่วยอะไร จะมีก็แค่เชือกไว้ไต่ลงมา และสำหรับส่งอุปกรณ์ขึ้นไป วิธีการตัดผมก็ไม่มีหลักการอะไร คือพอผมปีนขึ้นไปแล้ว กิ่งไหนใกล้ก็ตัดเลย สะดวกตรงไหนก็ตัดเลย พอได้มาอบรมจึงรู้ว่า ผมตัดต้นไม้ผิดวิธีมาตลอด และปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผมตัดผิดวิธีคือ ต้นไม้มันไม่ได้ตายเฉพาะกิ่งที่ผมตัด แต่มันจะรามทำให้ต้นไม้ตายไปเรื่อยๆ ส่วนกิ่งที่ไม่ตาย ก็แตกกิ่งแบบบ้าคลั่ง ทำให้ต้องขึ้นตัดตลอด ต้องทำงานซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังเจอปัญหาต้นไม้ฉีก พอมันฉีกปุ๊บ ต้นไม้ก็หุ้มตัวช้ามาก ตอนนั้นก็พอเห็นปัญหา ก็ยังไม่รู้ว่าจะแก้ไขยังไง ผมก็ยังทำแบบเดิมๆต่อไป จนสุขภาพต้นไม้แย่ลง

BIGTREE: ประสบการณ์และความประทับใจในช่วงเวลาที่ได้เข้าอบรม

จักรชัย: ผมเรียนจบทางด้านพืชศาสตร์มา จึงพอมีความเข้าใจเรื่องต้นไม้ แต่ไม่มีความรู้เรื่องการตัดแต่งเลย พอได้มาอบรมจึงรู้ว่า ที่ผ่านมาเราเข้าใจผิดมาตลอด ตอนนี้ถ้าจะกลับไปแก้ ก็งานใหญ่เลย ต้นไม้หลายต้นต้องได้รับการเยียวยาเยอะมาก ผมคิดว่าคอร์สการอบรมนี้รวบรวมเนื้อหาได้ชัดเจนมาก โดยเฉพาะภาคปฏิบัติ คือมีรุกขกรมืออาชีพมาสอนจริงจัง ให้ความรู้เต็มที่ มีเทคนิกใหม่ๆมาให้ปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์ เพราะเราไม่รู้ว่าหน้างานจะเจอกับปัญหาอะไร ที่เหลือคือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และการฝึกใช้อุปกรณ์ให้คล่องครับ

BIGTREE: คำแนะนำสำหรับผู้สนใจอยากเข้ามาอบรมในรุ่นต่อไป

จักรชัย: ผมคิดว่าสิ่งแรกคือความสนใจ เมื่อใจพร้อม มีความตั้งใจ เปิดใจรับคุณก็จะได้ความรู้ กลับไป 100% และร่างกายที่ต้องพร้อมสำหรับการอบรมภาคปฏิบัติด้วย

คุณสมนึก เขยกลาง พนักงานอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

คุณสมนึก เขยกลาง

BIGTREE: งานที่รับผิดชอบดูแลในปัจจุบัน

สมนึก: งานที่ทำผมคือดูทุกอย่าง ถ้าเป็นงานตัดแต่งต้นไม้ ผมจะดูแลทาง Subcontract ให้เขาลงมือทำ เพราะต้นไม้ที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเยอะมาก เท่าที่ผมเคยสำรวจมาคือ มีต้นไม้ใหญ่ 80 กว่าชนิด พอได้มาอบรมกับทีมรุกขกรจึงรู้ว่า ผมอยู่มา 23 ปี วิธีตัดต้นไม้ที่ผมทำผิดมาตลอด เวลาขึ้นไปตัดก็ตัดอย่างเดียว เราขึ้นรถกระเช้าใกล้ตรงไหน ก็ตัดเลย พอตัดผิด มันแตกผิดๆ ขึ้นไม่สวย ตัดแล้วตัดอีก ตัดเหมือนเดิม ผิดเหมือนเดิม

BIGTREE: ประสบการณ์และความประทับใจในช่วงเวลาที่ได้เข้าอบรม

สมนึก: เป็นการอบรมที่ดีมากนะ ได้ความรู้ดีมาก ตอนไปฟังบรรยายของอาจารย์เดชา บุญค้ำ ผมว่าสุดยอดเลย ดีมาก ได้ความรู้ได้ความเข้าใจเรื่องการตัดต้นไม้อย่างไรให้ถูกวิธี  ส่วนเรื่องการปฏิบัติผมก็ชอบมาก เพราะว่าทีมวิทยากรเขาสอนดีมาก และตั้งใจมาก บอกเทคนิกต่างๆเยอะเลยแต่ถ้าให้ผมแนะนำ ผมอยากให้เพิ่มเวลาในช่วงภาคปฏิบัติให้มากขึ้นกว่านี้อีกหน่อย ผมตั้งใจว่าการอบรมรุ่นต่อไป ผมก็อยากจะมาขอฝึกด้วยอีกครั้ง

 

เรื่อง มัลลิกา แสนทอง

ภาพ ฐิติเกตุ แสนทอง

 

 

Blog at WordPress.com.

Up ↑